วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

ฟักข้าว

ฟักข้าว อาหารต้านมะเร็ง
รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ 
กลุ่มวิชาเภสัชโภชนศาสตร์
  โครงการบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ฟักข้าวอาหารต้านมะเร็ง
ฟักข้าว Momordica cochinchinnensis (Lour.) Spreng.
อยู่ในวงศ์แตงกวาและมะระคือวงศ์
  Cucurbitaceae
ชื่อเรียกอื่นคือ ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) แก็ก (
Gac  เวียดนาม) Baby Jackfruit, Spiny Bitter Gourd, Sweet Gourd, และ Cochin-chin Gourd
ฟักข้าวมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พม่า ไทย ลาว บังกลาเทศ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นพืชที่ชาวเวียดนามใช้ประกอบอาหารมาก ในชนบทมีปลูกกันเกือบทุกบ้านเรือน
ฟักข้าว เป็นไม้เถาเลื้อยพัน
  มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบรูปหัวใจหรือรูปไข่ กว้างยาวเท่ากันประมาณ ๖-๑๕ เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก ๓-๕ แฉก
ดอกเป็นดอกเดี่ยวพบที่ซอกใบ ต้นแยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง ตรงกลางมีสีน้ำตาลแกมม่วง ใบประดับมีขน
ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง เจริญได้เองโดยไม่ต้อง ถูกผสม เมื่อผลสุกจะมีสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือแยกรากปลูก
 

ฟักข้าวเริ่มมีดอกหลังแยกรากปลูกประมาณ ๒ เดือน เริ่มผลิดอกราวเดือนพฤษภาคมและให้ดอกจน
  ถึงราวเดือนสิงหาคม  ผลสุกใช้เวลาประมาณ ๒๐ วัน และใน ๑ ฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลฟักข้าวได้ ๓๐-๖๐ ผล  โดยเก็บผลสุกได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผลของฟักข้าวมี ๒ ชนิด ผลยาวมีขนาดยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร ส่วนผลกลมยาว ๔-๖ เซนติเมตร เปลือกผลอ่อนสีเขียวมีหนามถี่ เปลี่ยนเป็นสีส้มแก่หรือแดงเมื่อผลสุก แต่ละผลหนักตั้งแต่ ๐.๕-๒ กิโลกรัม

ที่ประเทศเวียดนามมักปลูกฟักข้าวพาดพันไม้ระแนงข้างบ้าน และเก็บเฉพาะผลสุกมาประกอบอาหาร แต่เนื่องจากฟักข้าวให้ผลดีที่สุดในช่วงฤดูหนาว ชาวเวียดนามจึงนิยมใช้ประกอบอาหารในเทศกาลปีใหม่และงานมงคลสมรสเท่านั้น

ผลฟักข้าวมีเปลือกหนา ผลสุกเนื้อในหนามีสีส้ม ภายในมีเยื่อสีแดงให้เมล็ดเกาะ เนื้อผลสุกกินได้ ที่ประเทศเวียดนามใช้เยื่อสีแดงและเมล็ด (มีน้ำมัน) เป็นยา ฟักข้าว ๑ ผลจะได้เยื่อสีแดงราว ๒๐๐ กรัม
 
ประโยชน์ทางโภชนาการ
ในประเทศไทยใช้ผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร รสชาติเนื้อฟักข้าวเหมือนมะละกอ ลวกหรือต้มให้สุกหรือ ต้มกะทิจิ้มน้ำพริกกะปิ หรือใส่แกง ยอดอ่อน ใบอ่อนนำ มาเป็นผักได้ นำมานึ่งหรือลวกให้สุกกินกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค

ประเทศเวียดนามกินข้าวเหนียวหุงกับเยื่อเมล็ดผลฟักข้าวสุก เนื่องจากชาวเวียดนามถือว่าสีขาวเป็น
   สีแห่งความตาย ข้าวสีส้มแดงจึงจัดเป็นมงคลต่องานเทศกาลต่างๆ ชาวเวียดนามเอาเยื่อสีแดงจากผลฟักข้าวสุกพร้อม เมล็ดมาหุงกับข้าวเหนียว ได้ข้าวสีส้มแดงมีกลิ่นหอม ต้องมีเมล็ดฟักข้าวติดมาในข้าวด้วยจึงว่าเป็นของแท้  ถึงกับมีการหุงข้าวใส่สีผสมอาหารสีแดงเลียนแบบการใช้ฟักข้าวนอกฤดูกาลก็มี เชื่อว่าบำรุงสายตา
เยื่อเมล็ดของฟักข้าวมีปริมาณบีตาแคโรทีนมาก กว่าแครอต ๑๐ เท่า มีไลโคพีนมากกว่ามะเขือเทศ ๑๒ เท่า  และมีกรดไขมันขนาดยาวประมาณร้อยละ ๑๐ ของมวล การกินบีตาแคโรทีนจากฟักข้าวพบว่าดูดซึมในร่างกายได้ดีเพราะละลายได้ในกรดไขมันดังกล่าว

ความเชื่อที่ว่าฟักข้าวบำรุงสายตานั้นถูกต้อง แต่ต้องกินส่วนที่มาจากเยื่อเมล็ดไม่ใช่ส่วนอื่น
  เมื่อใช้เยื่อฟักข้าวเสริมอาหารให้กับเด็กก่อนวัยเรียนในงานวิจัยในประเทศเวียดนาม พบว่าเด็กในกลุ่มมีปริมาณบีตาแคโรทีนและไลโคพีนในพลาสมาสูงขึ้น และกลุ่มที่มีปริมาณความเข้มข้นของเฮโมโกลบินต่ำมีความเข้มข้น เพิ่มขึ้นด้วย จึงแนะนำให้ผู้มีเลือดจางกินข้าวหุงเยื่อเมล็ดฟักข้าวสุกด้วย ปัจจุบันมีผู้นำเยื่อเมล็ดนี้ผลิตเป็นเครื่องดื่มอาหารเสริมจำหน่ายในต่างประเทศ 
ไลโคพีนเป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์  พบได้ในผักและผลไม้บางชนิด ทำหน้าที่เป็นรงควัตถุรวบรวมแสงให้แก่พืช และป้องกันพืชผักจากออกซิเจนโมเลกุลเดี่ยว (อนุมูลอิสระ) และแสงที่จ้าเกินไป  การกินไลโคพีนที่มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้รับการพิสูจน์จากวงการแพทย์ว่ามีผลลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร  เนื่องจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีไลโคพีน มากกว่าผลไม้อื่นๆ ทุกชนิด  จึงถือว่าเป็นอาหารต้านมะเร็งที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งจากฤทธิ์ของไลโคพีน

ฤทธิ์ในการบำบัดรักษาโรคประเทศจีน
ใช้เมล็ดแก่ของฟักข้าวเป็นยามานานกว่า ๑
,๒๐๐ ปี ใช้บำบัดอาการอักเสบบวม กลากเกลื้อน ฝี อาการฟกช้ำ ริดสีดวง แก้ท้องเสีย อาการผื่นคันและโรคผิวหนังติดเชื้อต่างๆ ทั้งในมนุษย์และสัตว์ต่างๆ การกินฟักข้าวเป็นยานั้น ใช้เมล็ดแก่บดแห้ง  ส่วนการใช้ภายนอก ให้นำเมล็ดฟักข้าวบดแห้งผสมน้ำมันหรือน้ำส้มสายชูเล็กน้อยทาบริเวณที่มีอาการ และใช้เยื่อเมล็ดแทนสีผสมอาหาร งานวิจัยในประเทศจีนพบว่าโปรตีนจากเมล็ดมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ตับในหลอดทดลอง  เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของฤทธิ์ทางชีวภาพของเมล็ดฟักข้าว ถือว่าลดความเสียหายจากอนุมูลอิสระจึงมีฤทธิ์ป้องกันมะเร็ง นอกจากนี้ เมล็ดฟักข้าวเป็นส่วนผสมของยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและคลายกล้ามเนื้อในเครื่องยาจีนหลายตำรับ
ประเทศเวียดนาม 
การวิจัยทางคลินิกที่มหาวิทยาลัยฮานอย พบว่าน้ำมันจากเยื่อเมล็ดฟักข้าวมีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งตับ
ประเทศไทย
มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับสรรพคุณของเมล็ดฟักข้าว
  พบโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อเอชไอวี-เอดส์ และยับยั้งเซลล์มะเร็งจดสิทธิบัตรในประเทศไทยแล้ว งานวิจัยอื่นของไทยและต่างประเทศพบว่า เมล็ดแก่ของฟักข้าวมีโปรตีน มอร์มอโคลชิน-เอส  และโคลชินิน-บี  มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไรโบโซมซึ่งเป็นแหล่งผลิตกรดอะมิโน และต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งหลายชนิดในหลอดทดลอง ซึ่งอาจนำไปใช้พัฒนา เภสัชภัณฑ์ได้ในวันข้างหน้า
ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย
ใช้รากฟักข้าวสระผมเพื่อกำจัดเหา ใช้รากบดหมักผมกระตุ้นให้ผมดก ประเพณีล้านนาของไทยใช้
   ฟักข้าวในการดำหัว (คือการสระผม) สตรีล้านนา ดำหัวสัปดาห์ละครั้ง ยาสระผมŽ ประกอบด้วย ฝักส้มป่อยจี่ ผลมะกรูดเผา ผลประคำดีควายหมกไฟพอให้สุก รากของต้นฟักข้าว รากแหย่งบดหยาบ ทั้งหมดผสมกับน้ำอุ่นหมักผมไว้สัก    ระยะหนึ่งแล้วจึงล้างออก จะทำให้แก้คันศีรษะ แก้รังแค แก้ผมร่วงและช่วยให้ผมดกดำ
ประเทศญี่ปุ่น
ทำการวิจัยพบว่า โปรตีนจากสารสกัดน้ำของผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็งลำไส้ใหญ่ในหนูทดลอง โดยลดการแผ่ขยายของหลอดเลือดรอบก้อนมะเร็งและชะลอการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งดังกล่าว ในห้องทดลองน้ำสกัดผลฟักข้าวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยการทำให้เซลล์แตกตาย
ผลอ่อนฟักข้าวกินได้ ผลแก่ก็อุดมคุณค่า ลองหาพันธุ์มาปลูกให้เลื้อยเล่นหน้าบ้านจะได้กินเมื่อใจ ปรารถนา เป็นการสร้างสุขภาพป้องกันโรคร้ายได้อย่างดี
 

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในแผนการสอน

๑.การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
๑.๑  ผู้สอนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้อย่างไร
            ห่วง

ประเด็น
พอประมาณ
มีเหตุผล
ภูมิคุ้มกันที่ดี
๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดในหลักสูตร 

การเรียนรู้แบบโครงงานช่วยพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์  และกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน
กำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้
๒. การกำหนดประเด็นศึกษาของโครงงาน
กำหนดประเด็นศึกษาของโครงงานแบ่งเป็น ๕   ประเด็น คือ การแพทย์แผนไทย  หัตถกรรม  พื้นบ้าน  อาหารพื้นเมือง
ขนมพื้นเมือง
ประเพณีท้องถิ่น
เพื่อให้เหมาะสมกับศักยภาพของนักเรียน  และสอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของเอกลักษณ์ของชาติที่เยาวชนไทยควรเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป

กำหนดให้นักเรียนศึกษาจากกรณีศึกษาในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ตนอาศัยอยู่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการสัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ   ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. ภาระงาน
กำหนดภาระงานคือให้สัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนสนใจและอยู่ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
การเรียนรู้แบบโครงงานการลงมือปฏิบัติจริงจะช่วยให้นักเรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย  ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 การสัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่  สะดวกและปลอดภัยสำหรับนักเรียนในการลงพื้นที่ 
๔. เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม
กำหนดเวลาให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองจาก     ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเวลา ๑ เดือน  เพื่อให้นักเรียนมีเวลาสำหรับการสัมภาษณ์และฝึกปฏิบัติ
การศึกษาด้วยตนเองในชุมชนนักเรียนต้องการเวลาสำหรับการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การสัมภาษณ์ และการฝึกปฏิบัติ
การเขียนเค้าโครงโครงงานก่อนลงมือปฏิบัติจริง  เพื่อประโยชน์ในการแบ่งเวลาในการทำงานแต่ละขั้นตอนได้อย่างเหมาะสม
๕. การวัดและประเมินผล
กำหนดเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับภาระงานและตัวชี้วัด
การวัดและประเมินผลต้องสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตร
วางแผนติดตาม ประเมินผลการทำงานของนักเรียนเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง
๖. สื่อ
ใช้ใบความรู้เรื่อง     วัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น  
ใบงานเรื่องตารางเปรียบเทียบวัฒนธรรมไทยสมัยต่างๆ  และเอกสารประกอบการทำโครงงาน  เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เบื้องต้นก่อนการเขียนเค้าโครงโครงงาน
ก่อนที่นักเรียนจะลงมือปฏิบัติจริงในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น  และขั้นตอนการทำโครงงาน
การศึกษาข้อมูลและการวางแผนการทำงานก่อน ลงมือปฏิบัติจริง  เป็นการป้องกันและเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเก็บข้อมูลและฝึกปฏิบัติ
ความรู้        ครูมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด  หลักเกณฑ์การวัดและประเมินผล  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน  ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ 
คุณธรรม      ครูมีความรับผิดชอบ  ใฝ่เรียนรู้  ความยุติธรรม  ความขยัน  อดทน  เมตตาต่อนักเรียน    ความพอเพียง




๑.๒  ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงอย่างไร

พอประมาณ
มีเหตุผล
ภูมิคุ้มกันที่ดี
๑. การเลือกหัวข้อที่จะศึกษาสอดคล้องความต้องการความสนใจ และบริบทของชุมชนที่ตนอาศัยอยู่
๒. วางแผนการทำงานได้เหมาะสมกับศักยภาพของสมาชิกในกลุ่มและระยะเวลาที่กำหนด
๓. การนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในเกิด ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตอย่างคุ้มค่า

๑. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องร่วมกันอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป
๒. การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง  ได้รับประสบการณ์ตรง ก่อให้เกิดความรู้ที่คงทน  
๓. ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เป็นแบบอย่างของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
๑. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตรงตามความถนัดและความสามารถของสมาชิกในกลุ่ม
๒. วางแผนปฏิบัติงานตามขั้นตอนให้ทันตามกำหนดเวลาและใช้งบประมาณที่อยู่อย่างคุ้มค่า  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๓.  รู้จักเลือกวิธีการในการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมกับท้องถิ่นของตน
๔.  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง
ความรู้      นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน  ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่  หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  
คุณธรรม   นักเรียนมีวินัย     ใฝ่เรียนรู้   อยู่อย่างพอเพียง  ความรับผิดชอบ  ความอดทน 


               ด้าน
วัด
อยู่อย่างพอเพียง...สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
วัตถุ
สังคม
สิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม

ความรู้(K)
ความรู้เกี่ยวกับโครงงาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
๑. ความรู้เกี่ยวกับการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
๒.ความรู้เกี่ยวกับวิธีการอนุรักษ์    ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย         ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง


ทักษะ(P)
๑. ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒. วิเคราะห์ข้อมูล
๑.ทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม
๒. ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
มีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
รู้จักการนำ          ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
 
ค่านิยม(A)
คุณค่าของภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่น
เกิดเจตคติที่ดีในการดำเนินชีวิตแบบพอเพียงของชุมชน
เกิดจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑. มีความภาคภูมิใจใน    ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่
๒.เห็นคุณค่าและความ
สำคัญของการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

เผยแพร่ผลงานการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


 ชื่อเรื่อง การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางพิมพ์วรา จิตติอมรกิตติ์
ตำแหน่ง ครูชานาญการ
โรงเรียน กู่ทองพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (80/80) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาขึ้น
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน กู่ทองพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนกู่ทองพิทยาคมอาเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เขต 26 จำนวน 1 ห้องเรียน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมี 8 เรื่อง และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด
( ̅=4.50, S.D=0.51) 2) ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เท่ากับ 80.59/83.94 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเท่ากับ 0.7213 5) ผลการประเมินความพึงพอใจ ของผู้เรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก ( ̅=4.43,S.D=0.57)

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

มะละกอปลอดสารพิษ



มะละกอปลอดสารพิษ
วิธีปลูก
          ต้นกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกให้รองก้นหลุมด้วย กรดซิลิกรอน หรือภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.) คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200 – 300 กรัม ( 2 กำมือ)
          หากบริเวณที่จะปลูกเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ควรยกร่องให้สูงเพื่อไม่ให้น้ำขัง เพื่อป้องกันโรครากเน่า
โรคใบด่าง
          อาการใบจุดในมะละกอเกิดจากเชื้อราชื่อ Cercospora papayaeและ Corynespora sp. ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นได้ 2 กรณี ต่อไปนี้
          1. ทางใบเกิดจากเชื้อรา Cercospora papayaeจะเป็นจุดสีขาวอมเทาเป็นวงๆ มีรูปร่างไม่แน่นอน ใบที่เป็นโรคมากๆ จะเหลืองและแห้งตาย ถ้าเกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. จะเป็นจุดสีขาวกระจัดกระจายบนใบ ใบซีดเหลืองและร่วง
           2. ทางผลที่เป็นโรคนี้จะเกิดจุดเล็ก ๆ มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีสีดำและจะขยายตัวกว้างออก เนื้อเยื่อใต้ผิวของผลจะมีลักษณะแข็ง แต่ไม่มีการเน่าเกิดขึ้น
          วิธีป้องกันและควบคุม
          1.  ใส่ปุ๋ยกรดซิลิกรอน(H4so) จะเป็นสูตร 1 คือชนิดผงใช้โรยรอบต้นมะละกอ หรือ สูตร 2 ที่ผสมกับปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมีก็ได้ แต่ถ้าเพื่อการประหยัด ให้ซื้อสูตร 1 แล้วนำมาผสมกับปุ๋ยชีวภาพหรือเคมีก็ได้ ให้ใส่ทุก 15 วัน
2.  ฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ( 1 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ) หรือเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส พลายแก้ว 10 กรัม + ไข่ไก่ 10 + น้ำเปล่า 30 ลิตร  + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3-5วัน/ครั้ง ในการฉีดพ่นยา