วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง โรงเรียนดงใหญวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
ผู้วิจัย นางคณาพร เทียมกลาง
ตาแหน่ง ผู้อานวยการโรงเรียน
สถานศึกษา โรงเรียนกันทรวิชัย อาเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่พิมพ์ 2556
การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาบุคลากรโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารรถเขียนแผนและจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
ตามขั้นตอน 7 ขั้นตอน คือ ขั้นกาหนดหัวเรื่อง ขั้นวิเคราะห์ผังความคิด ขั้นออกแบบการเรียนรู้ ขั้นปฏิบัติการสอน ขั้นผู้เรียนสรุปความรู้ด้วยตนเอง ขั้นผู้เรียนนาเสนอความรู้และขั้นประเมินผลการเรียนรู้ ใช้หลักวิจัยการปฏิบัติการ (Action Research) 2 วงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาคือ การประชุม เชิงปฏิบัติการ
การนิเทศภายใน การนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) และการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ ผู้ร่วมการวิจัยและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จานวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสัมภาษณ์ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้า แบบวิเคราะห์การประชุมในการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แบบประเมินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การตรวจสอบข้อมูลยึดหลักการตรวจสอบแบบสามเส้า การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนาเสนอผลการวิจัยในรูปแบบตารางและพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน ผลการพัฒนาปรากฎว่า การพัฒนาในวงรอบที่ 1 บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้ร่วมวิจัย จานวน 48 คน ประกอบด้วย รองผู้อานวยการ วิทยากร 2 ท่าน นักเรียน 30 คน ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6
จา นวน 6 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จา นวน 8 คน บุคลากรสามารถเขียน
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้และนา ไปจัดกิจกรรมการ
เรียนรู้ได้ในระดับเหมาะสมมาก และนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด แต่ครู จา นวน 14 คน ยังทา ได้ไม่ดี
เท่าที่ควร เนื่องจากขาดความมั่นใจ มีความกังวลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บุคลากร บางคนยังขาดความมั่นใจ
จึงได้มีการพัฒนาในรอบที่ 2 ด้วยการนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน การปฏิบัติ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งให้คา แนะนา ปรึกษา
ในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปพร้อมกัน
พบว่ากลุ่มผู้ร่วมวิจัยมีการพัฒนาตนเองขึ้น มีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ
บูรณาการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น สามารถเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณา
การโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
แล้วบุคลากรครูทุกคน สามารถจัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
สมบูรณ์ และเป็นไปตามขั้นตอนได้ มีกระบวนการที่ถูกต้อง ทา ให้โรงเรียนผ่านการประเมินสถานศึกษาพอเพียง
ต้นแบบ ของสา นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ในปี การศึกษา 2554
โดยสรุป การพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนิเทศภายใน การนิเทศแบบสอนงาน (Coaching) และการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ ได้ส่งผลให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี