วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

มะละกอปลอดสารพิษ



มะละกอปลอดสารพิษ
วิธีปลูก
          ต้นกล้ามะละกอที่กำลังจะลงปลูกให้รองก้นหลุมด้วย กรดซิลิกรอน หรือภูไมท์ซัลเฟต หรือพูมิชซัลเฟอร์(20 กก.) ร่วมกับเชื้อไตรโคเดอร์ม่า (1 กก.)และปุ๋ยอินทรีย์ (50 กก.) คลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนแบ่งใส่รองก้นหลุมๆ ละ 200 – 300 กรัม ( 2 กำมือ)
          หากบริเวณที่จะปลูกเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ควรยกร่องให้สูงเพื่อไม่ให้น้ำขัง เพื่อป้องกันโรครากเน่า
โรคใบด่าง
          อาการใบจุดในมะละกอเกิดจากเชื้อราชื่อ Cercospora papayaeและ Corynespora sp. ซึ่งจะแสดงอาการให้เห็นได้ 2 กรณี ต่อไปนี้
          1. ทางใบเกิดจากเชื้อรา Cercospora papayaeจะเป็นจุดสีขาวอมเทาเป็นวงๆ มีรูปร่างไม่แน่นอน ใบที่เป็นโรคมากๆ จะเหลืองและแห้งตาย ถ้าเกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. จะเป็นจุดสีขาวกระจัดกระจายบนใบ ใบซีดเหลืองและร่วง
           2. ทางผลที่เป็นโรคนี้จะเกิดจุดเล็ก ๆ มีลักษณะฉ่ำน้ำ มีสีดำและจะขยายตัวกว้างออก เนื้อเยื่อใต้ผิวของผลจะมีลักษณะแข็ง แต่ไม่มีการเน่าเกิดขึ้น
          วิธีป้องกันและควบคุม
          1.  ใส่ปุ๋ยกรดซิลิกรอน(H4so) จะเป็นสูตร 1 คือชนิดผงใช้โรยรอบต้นมะละกอ หรือ สูตร 2 ที่ผสมกับปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยเคมีก็ได้ แต่ถ้าเพื่อการประหยัด ให้ซื้อสูตร 1 แล้วนำมาผสมกับปุ๋ยชีวภาพหรือเคมีก็ได้ ให้ใส่ทุก 15 วัน
2.  ฉีดพ่นสลับด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่า ( 1 กก.ต่อน้ำ 200 ลิตร ) หรือเชื้อหมักขยายบาซิลลัส-พลายแก้ว (เชื้อบาซิลลัส พลายแก้ว 10 กรัม + ไข่ไก่ 10 + น้ำเปล่า 30 ลิตร  + น้ำมันพืช (ช่วยตรึงผิวน้ำไม่ให้เกิดฟองไข่ฟู่กระจาย) ผสมให้เข้ากัน ให้ออกซิเจนแบตู้ปลา ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาผสมน้ำเปล่าให้ครบ 200 ลิตร ) ทั้งบนใบใต้ใบให้ชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุก ๆ 3-5วัน/ครั้ง ในการฉีดพ่นยา

ไม่มีความคิดเห็น: